1. หนุมานหลวงพ่อสุ่น ลิงหลวงพ่อดิ่ง มีดหมอหลวงพ่อเดิม เสือหลวงพ่อปาน สี่จตุรเทพเครื่องรางที่ใครมีไว้สุดยอด
มีีดหมดสาริกา หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ เทพเจ้าแห่งนครสวรรค์. ปลายด้ามตัด. มีเศษชันโรงใต้ดินที่ด้ามและฝักมีด. พุทธคุณครอบจักรวาฬ แล้วแต่อุปเทห์การใช้. ผู้ใดมีไว้. บอกได้คําเดียวว่า. สุโค่ย. แน่นอน. กําเนิดเครื่องรางของขลัง. เครื่องรางของขลัง. จัดเป็นเรื่องที่ลึกลับและกว้างขวางมาก เป็นความเชื่อโบราณเก่าแก่ที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ไม่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ในต่างประเทศระดับสากลทั่วโลกก็มีความเชื่อในเรื่องนี้ เพียงแต่แยกย่อยกันไปตามแต่ละท้องถิ่น ในบทความนี้จะกล่าวถึงเครื่องรางของขลังในสังคมไทยเท่านั้น. คนไทยต่างก็มีความเชื่อเรื่องเครื่องรางของขลังที่พระคณาจารย์หลายท่านได้สร้างไว้ในแต่ละยุค จะเห็นได้จากการสืบทอดสรรพตําราตกทอดกันมายาวนาน แม้ในตําราพิชัยสงครามยังกล่าวถึงเครื่องรางของขลังที่นักรบสมัยโบราณพกติดตัวไว้ จะมีด้วยกันหลายชนิด ซึ่งแบ่งออกไปตามประเภทย่อยๆ ดังนี้. 1. ของมาจากธรรมชาติ. ได้แก่ สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ไม่มีการสรรค์สร้าง ซึ่งถือว่ามีดีในตัวและมีเทวดารักษา สิ่งนั้น ได้แก่ เหล็กไหล คดต่างๆ เขากวางคุด เขี้ยวหมูตัน เขี้ยวเสือกลวง ฯลฯ. 2. ของที่สร้างขึ้นมา. ได้แก่ สิ่งของที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เช่น แร่ธาตุต่างๆ ที่หล่อหลอมตามสูตร การเล่นแร่แปรธาตุ อันได้แก่ เมฆสิทธิ์ เมฆพัด เหล็กละลายตัว สัมฤทธิ์ นวโลหะ สัตตะโลหะ ปัญจโลหะ เป็นต้น ทั้งนี้คลุมไปถึงเครื่องรางลักษณะต่างๆ ที่ได้รับการสร้างขึ้นมาเพื่อคุ้มกันภัยอันตราย. แบ่งตามการใช้. 1. เครื่องคาด ได้แก่ เครื่องราง ที่ใช้คาดศีรษะ คาดเอว คาดแขน ฯลฯ. 2. เครื่องสวม ได้แก่ เครื่องราง ที่ใช้สวมคอ สวมศีรษะ สวมแขน สวมนิ้ว ฯลฯ. 3. เครื่องฝัง ได้แก่ เครื่องราง ที่ใช้ฝังลงไปในเนื้อหนังของคน เช่น เข็มทอง ตะกรุดทอง ตะกรุดสาลิกา และการฝังเหล็กไหล หรือฝังโลหะมงคลต่างๆ ลงไปในเนื้อจะรวมอยู่ในพวกนี้ทั้งสิ้น. 4. เครื่องอม ได้แก่ เครื่องราง ที่ใช้อมในปาก เช่น ลูกอม ตะกรุดลูกอม สําหรับในข้อนี้ไม่รวมถึงการอมเครื่องรางชนิดต่างๆที่มีขนาดเล็กไว้ในปาก เพราะไม่เข้าชุด). แบ่งตามวัสดุ. 1. โลหะ. 2. ผง. 3. ดิน. 4. วัสดุอย่างอื่น อาทิ กระดาษสา ชันโรง ดินขุยปู. 5. เขี้ยวสัตว์ เขาสัตว์ งาสัตว์ เล็บสัตว์ หนังสัตว์. 6. ผมผีพราย ผ้าตราสัง ผ้าห่อศพ ผ้าผูกคอตาย. 7. ผ้าทอทั่วไป. แบ่งตามรูปแบบลักษณะ. 1. ผู้ชาย อันได้แก่ รักยม กุมารทอง ฤาษี พ่อเฒ่า ชูชก หุ่นพยนต์ พระสีสแลงแงง และสิ่งที่เป็นรูปของเพศชายต่างๆ. 2. ผู้หญิง อันได้แก่ แม่นางกวัก แม่พระโพสพ แม่ศรีเรือน แม่ซื้อ พระแม่ธรณี และสิ่งที่เป็นรูปของผู้หญิงต่างๆ. 3. สัตว์ ในที่นี้ หมายถึง พระโพธิสัตว์ อาทิ เสือ ช้าง วัว เต่า จระเข้ งู เป็นต้น. แบ่งตามระดับชั้น. 1. เครื่องรางชั้นสูง อันได้แก่ เครื่องรางที่ใช้บนส่วนสูงของร่างกาย ซึ่งนับตั้งแต่ศีรษะลงมาถึงบั้นเอว สําเร็จด้วย พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ. 2. เครื่องรางชั้นต่ํา อันได้แก่ เครื่องรางที่เป็นของต่ํา อาทิ ปลัดขิก อีเป๋อ แม่เป๋อ ไอ้งั่ง พ่องั่ง ไม่ได้สําเร็จด้วยของสูง. 3. เครื่องรางที่ใช้แขวน อันได้แก่ ธงรูปนก รูปปลา หรือ กระบอกใส่ยันต์และอื่นๆ