1. เหง้ารากสามสิบ (เพื่อปลูก) สมุนไพรรากสามสิบ
รากสามสิบรากสามสิบหรือชื่อเรียกอื่นๆ ว่า สามร้อยราก ผักหนาม และสาวร้อยผัว มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Asparagus racemosus Willd. จัดอยู่ในวงศ์หน่อไม้ฝรั่ง มีลักษณะลําต้นเป็นไม้เนื้อแข็ง ความสูงประมาณ 1.5 – 4 เมตร มีเถาเล็กเรียว กลม บริเวณตามเถามีหนาม ใบเป็นใบเดี่ยวรูปเข็มออกเรียงสลับเป็นกระจุก มีเหง้ารากอยู่ใต้ดินคล้ายต้นกระชาย ดอกสีขาวมีกลิ่นหอมออกเป็นช่อ ผลอ่อนสีเขียวและเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีแดง มีเมล็ด 2 – 6 เมล็ด สรรพคุณของรากสามสิบ เป็นพืชสมุนไพรที่มีชื่อเสียงในเรื่องของการบํารุงและฟื้นฟูร่างกายผู้หญิง โดยมีการวิจัยพบสารสําคัญในรากสามสิบมากมาย รวมทั้งสาร Steroidal saponins ซึ่งทําหน้าที่คล้ายกับฮอร์โมนเพศหญิง จึงทําให้รากสามสิบเด่น และถูกนํามาใช้เป็นยารักษาหรือฟื้นฟูร่างกายของสตรี เป็นยาบํารุงร่างกาย บํารุงเลือด อีกทั้งใช้เป็นยาช่วยกระตุ้นสมรรถภาพทางเพศได้ทั้งชายและหญิง ช่วยแก้ปัญหาภายในของผู้หญิง เนื่องจากพบสารสําคัญที่ทําหน้าที่เลียนแบบฮอร์โมนเพศ ช่วยแก้อาการตกขาว ภาวะมีบุตรยาก ภาวะหมดประเดือน อาการปวดประจําเดือน บํารุงน้ํานมหลังคลอดบุตร บํารุงตับและปอด ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปัญหาช่องคลอดอักเสบ ลดกลิ่นเหม็นในช่องคลอด เพิ่มขนาดหน้าอกและสะโพก กระตุ้นการหลั่งสารอินซูลินในตับอ่อน ซึ่งเป็นผลดีกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพราะช่วยลดน้ําตาลในเลือดได้ แต่งานวิจัยนี้ยังทําในหนูทดลอง สําหรับการใช้รากสามสิบในคนอาจต้องรอให้มีการศึกษาเพิ่มเติม จึงจะใช้ได้อย่างปลอดภัย ช่วยขับเสมหะ แก้ไอ และแก้อาการติดเชื้อในหลอดลม ลดกรดในกระเพาะอาหาร ป้องกันโรคกระเพาะอาหาร แก้อาหารไม่ย่อย ช่วยขับลม แก้ท้องเสีย แก้โรคบิด ลดกลิ่นตัว กลิ่นปาก ทําให้ผิวพรรณสดใสเปล่งปลั่ง แก้ริดสีดวงทวาร ช่วยเสริมความจําและสติปัญญา ต้านอาการเม็ดเลือดขาวต่ํา ยับยั้งการเกิดโรคมะเร็ง ป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งโรคกระดูกพรุนด้วย เพิ่มสมรรถภาพทางเพศในหนูตัวผู้ ข้อควรระวังการใช้รากสามสิบ รากสามสิบมีฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิง ดังนั้น จึงไม่เหมาะกับผู้หญิงที่เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งหรือมีเนื้องอกในเต้านม และไม่ควรรับประทานร่วมกับยาคุมกําเนิดอีกด้วย เนื่องจากจะทําให้ร่างกายได้รับฮอร์โมนมากเกินไป จนอาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งในระบบสืบพันธุ์ได้อีกเช่นกัน รากสามสิบก็เหมือนสมุนไพรทั่วไป ถึงแม้ว่าจะยังไม่พบความเป็นพิษหรือมีผลข้างเคียงกับร่างกาย แต่ก็ยังไม่มีการศึกษาถึงผลเสียในระยะยาว ดังนั้น จึงไม่ควรรับประทานติดต่อกันนานเกินไปและควรรับประทานในปริมาณที่กําหนด หากมีโรคประจําตัวก็ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ เพื่อป้องกันการเป็นอันตรายต่อร่างกาย #รากสามสิบ #สมุนไพรรากสามสิบ #รากสามสิบสด #รากสามสิบสมุนไพร #รากสามสิบแห้ง #สมุนไพรผู้หญิง NoBrand